ส่วยรถบรรทุก ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมานานกว่า 30 ปี

ส่วยรถบรรทุก คือ การเหมาจ่ายเงินให้ตำรวจตั้งแต่ต้นทางหรือต้นเดือน เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินตามด่านเมื่อถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจและพบว่ากระทำผิด โดย “นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง” ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เคยให้ภาษณ์ผ่านรายการ 5 อาสาเพื่อประชาชนว่า ปัจจุบันไม่มีการเรียกเก็บเงินรถบรรทุกตามด่านแล้ว เนื่องจากหลายคนเลือกที่จะจ่ายมาตั้งแต่ต้นทางและมีสัญลักษณ์บางอย่างติดไว้ที่หน้ารถ เช่น สติ๊กเกอร์ เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินหรือตรวจสอบ

สติ๊กเกอร์รูปการ์ตูนหลายรูปแบบ โดยเฉพาะรูป “พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง” ที่ติดอยู่กระจกหน้ารถบรรทุก หากมองเพียงผิวเผินหลายคนอาจคิดว่าเป็นการติดสติ๊กเกอร์เพื่อความสวยงาม แต่ความจริงแล้วสติ๊กเกอร์บางรูปแบบถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อถึง  “ค่าผ่านทางพิเศษ” หรือที่เรียกกันว่า “ส่วยรถบรรทุก” หรือ “ส่วยสติ๊กเกอร์” ที่จะช่วยให้รถบรรทุกเหล่านั้นไม่โดนเรียกตรวจสอบเมื่อเจอด่านตรวจ หรือหากถูกเรียกก็จะไม่ถูกดำเนินคดี เช่น กรณีบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือกระทำความผิดอื่นๆ

ส่วยรถบรรทุก สร้างความเสียหายแค่ไหน

จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในวงจรส่วยเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า รถบรรทุกในไทยมีทั้งหมดประมาณ 5,500,000 คัน จะมีรถที่ทำผิดกฎหมายมากถึง 20% ทำให้มีเงินผิดกฎหมายสะพัดอยู่ที่หลายร้อยล้านบาท แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเงินเหล่านั้นไปอยู่ที่ไหน

ในฐานะสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์รวมของสมาคมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันให้การขนส่งทางบกมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้มีข้อมูลทราบว่า ประเทศไทยมีเครือข่ายรถบรรทุกทั่วประเทศมากถึง 10 สมาคม และที่ผ่านมาได้รับการแจ้งจากทั่วประเทศว่า พบรถบรรทุกทำผิดกฎหมายในสมาคมเองกว่า 400,000 คัน และอีกประมาณ 1,000,000 คัน ที่ไม่ได้อยู่ในสมาคม

นอกจากนี้ผลเสียของการเก็บ “ส่วยรถบรรทุก” ไม่ใช่เพียงแค่การเกิดขึ้นของระบบ เงินผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังสร้างผลเสียให้กับถนนหลวงทั่วประเทศที่มี ระยะทางกว่า 100,000 กม. เพราะเมื่อมีรถบรรทุกน้ำหนักเกินวิ่งบนถนนเป็นเวลานาน ทำให้ถนนเกิดความเสียหายโดยเฉพาะช่องทางซ้ายสุด และเมื่อถนนเกิดความเสียหายจนเดินรถไม่สะดวก รถบรรทุกก็จะเปลี่ยนไปวิ่งช่องทางขวาสุดร่วมกับรถประเภทอื่นๆ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุตามมา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล และที่สำคัญ เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่เรียกตรวจรถบรรทุกที่มีสติ๊กเกอร์ จึงทำให้มีการลักลอบขนส่งของผิดกฎหมายได้ง่ายขึ้น

ปัญหาเรื้อรังกว่า 30 ปี เพราะอะไรส่วยรถบรรทุกจึงไม่หมดไป

ประเด็นของส่วยรถบรรทุกนั้นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเพียงไม่นาน แต่เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมานานกว่า 30 ปี ซึ่งนายอภิชาติระบุว่า แม้ที่ผ่านมาจะเคยมีองค์กรต่างๆ ไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้มีการตรวจสอบจริงจังหรือมีการแก้ปัญหาในระยะยาว

ทั้งนี้ ด่านตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกในประเทศไทยมีทั้งหมด 97 ด่าน แต่เมื่อรถบรรทุกทราบว่าจะมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ ก็จะใช้วิธีเลี่ยงไปวิ่งถนนสายรองแทน เช่น วิ่งเลียบคลอง หรือ เส้นทางลัดอื่นๆ ทำให้ถนนเกิดความเสียหาย เพราะถนนเหล่านั้นรับน้ำหนักได้แค่ 21 ตัน ส่วนรถบรรทุกส่วนใหญ่มีน้ำหนักมากถึง 50 ตัน จึงทำให้เกิดผลเสียตามมาในระยะยาวก็คือ มีการปิดซ่อมถนนบ่อยครั้งและเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อการจราจรและธุรกิจท่องเที่ยวในเวลาต่อมา

สำหรับรถบรรทุกที่ทำผิดกฎหมาย ส่วนมากจะเป็นรถที่บรรทุก อิฐ หิน ดิน ทราย และพืชไร่ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง โดนขนส่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านจนมาถึงแหลมฉบัง ท่ามกลางข้อสงสัยว่ารอดพ้นด่านตรวจมาตั้งแต่ต้นทางได้อย่างไร

แม้ว่าทางสหพันธ์ฯ จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้มานานแล้ว แต่ปัจจุบันกลับพบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลกวดขันให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการดูแลเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยระดับปฏิบัติการ ให้มีสวัสดิการที่ดีเพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาเก็บส่วยจากประชาชน และนอกจากจะเอาผิดกับคนขับรถบรรทุกแล้ว ควรเอาผิดบริษัทขนส่งที่เป็นต้นทางการจ่ายส่วยด้วย

อ้างอิงข้อมูล : รายการ 5 อาสาเพื่อประชาชน

รถบรรทุก

ย้อนดูปัญหาส่วยรถบรรทุกที่ไม่เคยหายไป

ในขณะที่บรรยากาศทางการเมืองกำลังฝุ่นตลบกับการชิงเก้าอี้ประธานสภา และจับตาดูการจัดตั้งรัฐบาล นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เปิดประเด็น “ส่วยสติ๊กเกอร์” หรือ “สติกเกอร์ Easy Pass” พร้อมติดแฮชแท็ก #ทำงานต่อไม่รอแล้วนะ

เฟซบุ๊ค Wiroj Lakkhanaadisorn – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร โพสต์รูปสติ๊กเกอร์หลายรูปแบบ ที่ติดอยู่หน้ารถบรรทุกพร้อมระบุว่า มีคนให้ข้อมูลว่า Easy Pass พิสดาร นี่มีหลายรูปแบบมาก มีคนร่ำลือกันว่า ต่อให้บรรทุกเป็น 100 ตัน ก็ขับผ่านฉลุย แถมไม่ต้องเสียเวลาชั่ง

กลไกคือ มีองค์กรลึกลับไปไล่เคลียร์ แล้วเหมาจ่ายไปก่อน จากนั้นก็จะผลิตสติ๊กเกอร์ Easy Pass พิสดาร (ที่ไม่เกี่ยวกับการทางพิเศษ) ออกมา แล้วนำมาจำหน่ายให้กับรถบรรทุกต่างๆ ในราคาหลักพันบาทต่อเดือน ตามระยะทาง และจำนวนด่าน อย่างเช่น สติ๊กเกอร์ Easy Pass รุ่นกระต่ายน้อยคอยรัก ดวงละ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน

“ส่วยรถบรรทุก” หรือ “ส่วยสติ๊กเกอร์” แท้ที่จริงถือเป็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงในสังคมไทยมาก่อนหน้านี้แล้วหลายต่อหลายครั้ง ฐานเศรษฐกิจ ย้อนดูที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

งานเสวนา “อิทธิพลส่วย รถบรรทุกกับการคอรัปชั่น” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2565 นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหา “ส่วย รถบรรทุก” เป็นปัญหาที่สั่งสมมาอย่างยาวนานในสังคมไทยมากกว่า 30-40 ปี การแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง ทำให้บรรทุกน้ำหนักเกินมีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้มีการเรียกเก็บ “ส่วยรถบรรทุก”

นายอภิชาติเล่าว่า ในอดีตมีการจ่ายแบบราคาเหมา เช่น ผู้ประกอบการ 1 รายมีรถบรรทุก 20 คัน จะจ่าย 5,000-6,000 บาทต่อเดือน แต่ปัจจุบันรูปแบบการจ่าย ส่วยรถบรรทุก ผู้ประกอบการ รถบรรทุก จะจ่ายเป็นคันราคาประมาณ 10,000-27,000 คันต่อเดือน ขึ้นอยู่ปริมาณการบรรทุกน้ำหนักของรถบรรทุก

แต่ละปีพบว่า มีรถบรรทุกจ่ายส่วยประมาณ 120,000 คัน หรือคิดเป็นมูลค่าราคา 1,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาล ขณะที่ปัจจุบันรถบรรทุกที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) มีประมาณ 1,400,000-1,500,000 คัน ในส่วนนี้เป็นสมาชิกสหพันธ์ขนส่งฯ ประมาณ 400,000 คัน

นายอภิชาติ กล่าวสหพันธ์ขนส่งฯ ได้เสนอทางออก 3 ข้อ คือ 1.เอาผิดผู้ว่าจ้างในการขนส่งสินค้า เช่น โรงโม่ ที่มีการให้เกิดบรรทุกน้ำหนักเกิน 2.ให้ ทล. ติดตั้งเครื่องประเมินน้ำหนักรถบรรทุกบนโครงข่ายทางหลวงในระยะทางกว่า 50,000 กม. ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น เพื่อช่วยเข้มงวดขวดขันเรื่องกังกล่าว และ 3.ไม่ควรตั้งด่านตรวจสอบรถบรรทุกน้ำหนักเกินซ้ำซ้อน เพื่อแก้ปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์จากรถบรรทุก โดยเฉพาะเส้นทางหลัก

ย้อนหลังไป 12ปีที่แล้ว วันที่ 7 กันยายน 2554 กลุ่มสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย นำโดย นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์ฯ ร่วมกับ 10 สมาคม 4 ชมรม ประมาณ 150 คน มารวมตัวกันถือป้ายข้อความประท้วงขับไล่ พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา ผบก.ทล.เรื่องการเรียกเก็บส่วยกับรถบรรทุก

ในครั้งนั้น ประธานสหพันธ์ฯระบุว่า ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิก มีการขายสติกเกอร์ให้กับรถบรรทุกในราคาใบละ 3,500 บาท ต่อคันต่อเดือน ทำให้สามารถวิ่งบรรทุกน้ำหนักเกินได้อย่างสบาย ส่งผลกระทบทั้งผู้ใช้รถใช้ถนน และผู้ประกอบการรถบรรทุก

และการที่เจ้าหน้าที่ไม่เรียกตรวจรถบรรทุกที่มีสติกเกอร์นั้น อาจจะมีการแอบแฝงยาเสพติดมากับรถบรรทุกก็ได้ แถมถนนยังพังเสียหาย เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทำลายชีวิตและทรัพย์สิน ขณะนั้น
ทางสหพันธ์ได้นำหนังสือร้องเรียนไปยื่นกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อแก้ไขเรื่องส่วยสติ๊กเกอร์ด้วย

จึงจะเห็นได้ว่า “ส่วยสติ๊กเกอร์” หรือ “ส่วยรถบรรทุก” ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่เคยหายไป ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการจ่ายตามรายทาง เป็นการซื้อสติ๊กเกอร์ต่อคัน ต่อเดือน และเปลี่ยนเป็นรูปแบบล่าสุด คือการเหมาจ่าย  

ที่มา

 

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่  bazarop.com

สนับสนุนโดย  ufabet369