อิตาลี

จะส่งผลกระกระทบกับสหภาพยุโรป อย่างไรบ้าง กับนโยบาย ของนายกรัฐมนตรีอิตาลีคนใหม่

จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีหญิง คนแรกของอิตาลีคน ที่มีพื้นเพมาจาก ย่านชนชั้นแรงงานในกรุงโรม และเป็นนักเคลื่อนไหว ผู้มีแนวคิดขวาจัด จอร์เจีย เมโลนี เป็นคนที่มีความฉลาดหลักแหลม และทำงานค่อนข้างหนัก ในฐานะนักการเมือง เธอเป็นคนที่มีแนวคิด อนุรักษ์นิยมอย่างพอดี และมีท่าทีแข็งกร้าว กล้าลุย ในอีกด้านหนึ่งเช่นกัน

แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็ยังมีชาวอิตาลีอีกหลายหลานคน ที่ไม่ได้เลือก เมโลนี เนื่องด้วย ความที่เธอนั้น มีแนวคิดชาตินิยม มีแนวคิดในการต่อต้านผู้อพยพ ค่านิยมเรื่องครอบครัว และยังมีนโยบาย ปกป้องทางการค้า อีกด้วย ซึ่งไม่ค่อยตอบโจทย์ ในอีกหลายๆ คนที่เหลือ และนี่ก็ไม่ใชสถานการณ์ที่ดี ต่อสหภาพยุโรปเท่าไหร่นัก

โดยทางสหภาพยุโรปนั้น ได้มีความกังวลใจเกี่ยวกับ แนวคิดชาตินิยม ของนางเมโลนี เพราะประเทสอิตาลีเป็นประเทศที่มี เศรษฐกิจขนาดใหญ่สุด เป็นอันดับ 3 ของอียู และยังเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอีกด้วย แต่ที่ผ่านมา ทางด้านนางเมโลนี แสดงความเคลือบแคลงใจ ต่ออียูมาโดยตลอด

อิตาลี
ระหว่างหาเสียง เธอมักพูดว่าอิตาลีถูกเหยียบย่ำ โดยประเทศอียูที่ใหญ่กว่าและร่ำรวยกว่า

แม้ว่าเธอไม่เคยออกมาเรียกร้องให้อิตาลีเลิกใช้เงินยูโรหรือให้ออกจากการเป็นสมาชิกอียู มองกันว่าเธอจะโอนเอียงไปทางประเทศยุโรปที่ถูกอียูมองว่า “เป็นปัญหา” อย่างฮังการีและโปแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องนโยบายผู้อพยพ

“อย่างไรก็ดี อียูไม่ควรจะต้องตื่นตระหนกอะไร” นิโคเลตตา ปิรอซซิ จากสถาบันความสัมพันธ์นานาชาติในกรุงโรม บอกกับฉัน เธอบอกว่าเมโลนี เป็นนักการเมืองที่มองอะไรตามความเป็นจริงและเล็งเห็นว่าเงินทุนจากอียูสำคัญแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินช่วยเหลือเรื่องโควิด-19 ที่ประเทศต่าง ๆ ตั้งหน้าตั้งตารอ เพื่อที่จะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการระบาดใหญ่

สถานะการเงินของอิตาลีอาจเป็นอีกเรื่องที่อียูกังวล อิตาลีเป็นประเทศที่มีหนี้มากที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป แต่คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างรัฐสวัสดิการของนางเมโลนี ต้องอาศัยงบประมาณสูง นโยบายที่เธอสัญญาไว้มีทั้งการสนับสนุนดูแลผู้พิการ การเลี้ยงดูเด็ก คนวัยเกษียณ และผู้หญิงอิตาลี เธอบอกว่าเธอพยายามจะชักชวนให้ผู้หญิงมีลูกมากขึ้น

เพื่อจะได้ลดจำนวนแรงงานอพยพในอิตาลี คำสัญญาเหล่านั้น – รวมถึงที่ให้คำมั่นว่าจะเก็บภาษีแบบอัตราคงที่ – ต้องใช้เงินเยอะมาก ไม่ว่านโยบายเหล่านี้จะทำได้จริงหรือไม่ นี่หมายความว่ารัฐบาลจะมีงบประมาณไปทำอย่างอื่นน้อยลง และต้องเผชิญแรงกดดันให้ไปกู้เงินเพิ่ม ชัยชนะของนางเมโลนี เกิดขึ้นในช่วงที่ยุโรป กำลังเผชิญวิกฤตสงครามในยูเครน

นายกรัฐมนตรีคนใหม่รู้ดีว่าปัญหาใหญ่ที่สุด ของชาวอิตาลีตอนนี้คือวิกฤตค่าครองชีพและค่าพลังงาน อิตาลีได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ เพราะพวกเขาเคยต้องนำเข้า ก๊าซจากรัสเซียเป็นจำนวนมาก องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต กังวลว่าฤดูหนาวอันยากลำบากอาจทำให้นางเมโลนี เจอแรงกดดัน จากประชาชน

จนเธออาจยอมเลิกใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ที่ทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกคือ หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลอีกสองพรรค คือ ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี และมัตเตโอ ซัลวินี มีสายสัมพันธ์เก่าแก่กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย อย่างไรก็ดี จอร์เจีย เมโลนี คิดว่าตัวเองมีท่าทีเอนเอียงสนับสนุนชาติยุโรปในฝั่งตะวันตกและสหรัฐอเมริกา

ตอนนี้ อียูคงได้แต่คาดหวังว่า จะไม่เกิดกระแสแนวคิดชาตินิยมขวาจัดไปทั่วยุโรป รัฐบาลของนางเมโลนี เป็นรัฐบาลอิตาลีที่มีแนวคิดขวาจัด มากที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสมาชิกอียูไม่ได้สมานสามัคคีทางการเมืองอย่างที่ผู้สนับสนุนอียูฝันให้เป็น ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส, นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี

หรือนายกรัฐมนตรีมาร์ก รัตเต ของเนเธอร์แลนด์ ดูเหมือนผู้นำส่วนใหญ่ในอียูจะเห็นตรงกันว่า: เรามาร่วมมือกันหากว่าทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เช่นการซื้อวัคซีนช่วงการระบาดใหญ่ แต่ลืมไปเลยหากจะมาเอาอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศไปหลอมรวมกันมากเกินไป ถ้ามองในมุมนี้ จอร์เจีย เมโลนี จะสามารถเข้ากันกับผู้นำอียูคนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณแหล่งที่มา : BBC.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : bazarop.com