วิธีการดูแลลูกหมา-ลูกแมว และแม่หลังคลอด

การดูแลสัตว์เลี้ยงหลังคลอด เมื่อเลือกเลี้ยงสัตว์แล้วไม่ว่าจะเป็นหมาแมว บางคนได้มาจากเพื่อนหรือใครที่ต้องการหาซื้อสัตว์เลี้ยงมีช่องทางที่หาได้งายๆ ในออนไลน์ เมื่อได้มาเลี้ยงแล้วเจ้าของต้องจัดการโปรแกรมสุขภาพ การกระตุ้นวัคซีน ถ่ายพยาธิ หากสัตว์เลี้ยงขาดการกระตุ้นวัคซีน หรือมีกำหนดจะครบในช่วงที่จะให้ตั้งท้องควรทำวัคซีนก่อนการจัดการการผสมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงที่ สัตว์ตั้งท้องและให้นมลูก ไม่แนะนำให้ทำวัคซีน เพราะการทำวัคซีนอาจทำให้แม่สัตว์มีไข้ ผลการสร้างภูมิในระหว่างการตั้งท้องอาจไม่ดี และวัคซีนบางประเภทอาจมีผลต่อการเจริญของลูก

การดูแลลูกหมาและลูกแมวหลังคลอด ออกเป็น 2 ส่วนคือ การดูแลลูก และการดูแลแม่

การดูแลลูกหมาและลูกแมวหลังคลอด

ลูกหมาและลูกแมวหลังคลอด มักเสียชีวิตจาก 1. การได้พลังงานหรืออาหารไม่เพียงพอ 2. การทนความหนาวหรือการปรับตัว เพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้  และ 3. เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้นการเลี้ยงดูลูกหมาและลูกแมวควรคำนึงถึงคือ

  1. ภายใน 3 วันแรกหลังคลอด ลูกๆ ต้องได้รับการกินนมน้ำเหลือง (colostrum อ่านว่าโคลอสตุ้ม) จากแม่ซึ่งเป็นนมที่มีภูมิต้านทานโรคสูง เนื่องจากภูมิต้านทานโรคจากแม่ถ่ายทอดผ่านทางรกในขณะที่อยู่ในท้องได้น้อยมาก จึงต้องพยายามจับให้ลูกทุกตัวกินนมให้ได้ โดยเฉพาะ 24 ชมแรกหลังคลอด แม่หมาหรือแม่แมวที่ได้รับการผ่าคลอด อาจมีนมน้อย แต่ยังต้องพยายามจับลูกดูดนมแม่ เต้านมที่ได้รับการกระตุ้นบ่อยๆ จะสร้างน้ำนมปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์นมโคลอสตุ้มออกมาจำหน่ายแล้ว
  2. ถ้าแม่หมาหรือแม่แมวได้รับการผ่าคลอด หลังจากฟื้นจากยาสลบ อาจไม่รู้จักลูกตัวเอง หรือ อาจยังเจ็บแผลผ่าตัดอยู่ เมื่อนำลูกไปดูดนมแม่ แม่อาจกัดได้ คนเลี้ยงต้องคอยสังเกตอาการของแม่ อาจให้เริ่มจากการดมก่อน ถ้าแม่ยอมรับ ค่อยให้ลูกดูดนม
  3. กรณีที่น้ำนมแม่ไม่พอ ก็สามารถซื้อนมลูกสัตว์ป้อนเสริมให้ได้ การใช้นมแพะหรือนมโค จะมีคุณค่าอาหารน้อยกว่านมลูกสัตว์ และอาจทำให้ท้องเสียได้
  4. ควรมีไฟกก อยู่สูงจากลูกสัตว์อย่างน้อย 1-2 ฟุตขึ้นไป กรณีลูกสัตว์นอนสุมกันแสดงว่าลูกหนาว แต่ถ้านอนแยกๆ กัน หรือหนีห่างจากโคมไฟแสดงว่าร้อน ถ้าลูกเลี้ยงรวมกับแม่ ก็ไม่จำเป็นต้องมีไฟกก เพราะลูกมักนอนสุมอยู่ใกล้ตัวแม่ แต่ควรระวังแม่สุนัขทับลูกตัวเอง และควรดูแลความสะอาดของที่อยู่ของแม่ลูกอย่างสม่ำเสมอ
  5. กรณีที่กินนมแล้วลูกยังร้อง ไม่ยอมนอน ท้องแฟบ หมายถึงลูกยังกินไม่อิ่ม แต่ถ้าท้องกางๆ และ ไม่ยอมนอน แสดงว่าลูกมีอาการท้องอืด
  6. หลังการดูดนม แม่มักเลียบริเวณอวัยวะเพศ เพื่อกระตุ้นการขับถ่ายกรณีที่แม่ไม่ยอมทำ ให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่น เช็ดถูเบาๆ บริเวณอวัยวะเพศ ลูกสัตว์จะขับถ่ายออกมา และ ควรทำทุกครั้งหลังการดูดนม
  7. ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ลูกหมาและลูกแมวจะกินนมทุก 2-3 ชม. ในสัปดาห์ที่ 3-4 จะกินนมทุก 3-4 ชม ควรชั่งน้ำหนักลูกทุกวัน และน้ำหนักลูกควรเพิ่ม 5-10 % ทุกวัน
  8. เมื่อลูกอายุ 4 สัปดาห์ ควรให้ลูกหัดเลียอาหาร โดยใช้อาหารลูกสัตว์ผสมนมหรือน้ำให้อาหารเละๆ และ ใส่จานให้หัดเลียกิน โดยให้อาหารสลับกับการดูดนมได้
  9. ลูกหมาและลูกแมว จะลืมตา และหูจะได้ยินเมื่ออายุประมาณ 10-14 วัน
  10. ควรหย่านมลูกหมาและลูกแมวที่อายุ 6 สัปดาห์
  11. เมื่อพบอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย ท้องอืดมาก ลูกไม่โต น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น มีอาการซึม ควรปรึกษาสัตวแพทย์ รวมทั้งการวางแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การถ่ายพยาธิ และการควบคุมเห็บหมัด

การดูแลสัตว์เลี้ยงหลังคลอด

การดูแลแม่หมาและแม่แมวหลังคลอด

โดยส่วนใหญ่สัตว์จะคลอดลูกได้เอง เจ้าของสามารถช่วยทำคลอดให้แม่หมาและแม่แมวได้ แต่หากมีอาการผิดปกติหลังคลอดในแม่หมาและแม่แมว รวมถึงการดูแลสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ เต้านมอักเสบ การติดเชื้อที่มดลูก แม่มีอาการซึม และภาวะแคลเซียมในร่างกายต่ำ (ไข้น้ำนม) โดยอาการรวมๆ ที่ควรสังเกตได้แก่

  1. สิ่งคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ กรณีที่คลอดธรรมชาติมักเป็นสีแดง (ไม่ควรเป็นสีแดงสด ไม่เป็นสีน้ำตาล สีดำ หรือสีเขียว) โดยสิ่งคัดหลั่งจะหลั่งออกมามากใน 2 สัปดาห์แรก และเป็นหยดๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 แต่ถ้าพบปริมาณมากและต่อเนื่องหลายสัปดาห์ หรือสีสิ่งคัดหลั่งที่เปลี่ยนไป หรือ มีกลิ่น ควรนำไปพบสัตวแพทย์
  2. เต้านมที่แดงอักเสบ จับแล้วเจ็บ แม่ไม่ยอมให้ลูกเข้าใกล้ หรือ ให้ลูกดูดนม สีน้ำนมเปลี่ยนไป เช่น สีเขียว หรือลักษณะหนืดๆ ลูกทยอยท้องเสีย หรือ ลูกน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น แม่อาจมีปัญหาเต้านมอักเสบ ควรนำไปพบสัตวแพทย์
  3. กรณีที่พบว่า แม่ตัวร้อน (มีไข้สูง) ตัวสั่นๆ โดยเฉพาะหลังการให้นมลูก หรือแม่มีอาการซึม ไม่ยอมกินอาหาร ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์
  4. ควรมีน้ำตั้งทิ้งไว้ให้แม่หมาและแม่แมวได้กินตลอดเวลา ส่วนอาหารควรกินสูตรอาหารแม่หรือลูกสุนัข และ อาจแบ่งให้เป็น 3-4 มื้อต่อวัน และอาจเสริมนมให้แม่ได้
  5. เมื่อพบอาการผิดปกติ แม่ไม่สนใจลูก ไม่เลี้ยงลูก ควรปรึกษาสัตวแพทย์

สำหรับใครที่มีสัตว์เลี้ยงกำลังตั้งท้องหรือใกล้คลอด ควรจัดโปรแกรมสุขภาพเพื่อเลี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและเจ็บป่วย และสามารถนำข้อมูล การดูแลสัตว์เลี้ยงหลังคลอด ในบทความนี้ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ไปใช้เตรียมตัวเพื่อให้แม่ของลูกๆ คลอดได้อย่างปลอดภัย และได้ต้อนรับลูกน้อย ทั้งลูกหมาและลูกแมว ให้เติบโตแข็งแรงอยู่เป็นเพื่อนกับเจ้าของไปนานๆ หลังคลอดแล้ว อย่ามัวแต่ดีใจและดูแลแต่ลูกน้อยต้องดูแลแม่ด้วย ถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ให้รีบไปควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)

ควรฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ลูกหมาและลูกแมวอายุเท่าไร ?

  • สำหรับการทำวัคซีนในลูกหมาและลูกแมว อายุที่เหมาะสมที่สุดคือ 2 เดือน

วัคซีนที่สำคัญสำหรับลูกหมาและลูกแมว ?

  • วัคซีนป้องกันไข้หัดแมว (feline parvo virus; FPV)
  • วัคซีนแคลิซิไวรัส (feline callicivirus;FCV) และเฮอร์ปีส์ไวรัส-1 (feline herpesvirus; FHV-1) หรือโรคหวัดแมว
  • วัคซีนพิษสุนัขบ้า (rabies virus)

ลูกหมาและลูกแมวจะลืมตาตอนอายุเท่าไร ?

  • ลูกหมาและลูกแมวแรกเกิดจะไม่ค่อยขยับตัวและยังไม่ได้ยินเสียง ตาทั้งสองข้างจะยังปิดสนิทอยู่ พออายุประมาณ 5 วัน ลูกหมาและลูกแมวจะเริ่มลืมตาได้

สามารถอาบน้ำให้ลูกหมาและลูกแมวได้ตอนอายุเท่าไร ?

  • ควรเริ่มอาบน้ำลูกหมาและลูกแมว เมื่อมีอายุ 8 สัปดาห์หรือ 2 เดือน ซึ่งการฝึกตั้งแต่อายุน้อยๆ จะช่วยให้ไม่กลัวการอาบน้ำ วิธีเริ่มต้นในการฝึกอาบน้ำ ควรเริ่มจากให้จับเท้าจุ่มน้ำอุ่น จากนั้นค่อยๆ เพิ่มระดับการจุ่มน้ำ จนสามารถปรับตัวได้เหมือนปกติ

หลังคลอดให้แม่แมวกินอะไรได้บ้าง ?

  • ควรให้แม่แมวกินน้ำนมหรืออาหารเหลวอุ่นสัก 1 ถ้วยและมีน้ำให้กินตลอดเวลา จากนั้นค่อยให้อาหารแข็งในช่วง 24-48 ชั่วโมง

หลังคลอดถ้าแม่หมาและแม่แมวทิ้งลูก ไม่เลี้ยงลูกจำทำยังไงดี ?

  • เจ้าของต้องคอยให้นมทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วง 2-3 อาทิตย์แรก ใช้เป็นนมสำเร็จรูปได้ หากลูกสุนัขได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้หิวจัด กินเร็วและอาจทำให้ท้องเสีย หรือสำลักอาหารตายได้

ที่มา

https://www.baanlaesuan.com/164721/pets/

https://www.pexels.com/th-th/photo/1056251/

https://www.pexels.com/th-th/photo/1056252/

https://www.pexels.com/photo/

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  bazarop.com